วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

บทที่ 13 จริยธรรมและความปลอดภัย


แบบฝึกหัดท้ายบทที่  13
1. จริยธรรมที่มุ่งเน้นความเป็นส่วนตัว (information privacy) เกี่ยวข้องกับข้อมูลอะไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
                -  เกี่ยวข้องกับสิทธิ์ส่วนตัวของบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรที่จะคงไว้ซึ่งสารนิเทศ เช่น มีการใช้โปรแกรมติดตามและสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้งานบนเว็บไซต์และแอบเอาข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้นั้นไปใช้เพื่อประโยชน์อื่น หรืออาจมีการใช้ระบบตรวจสอบและติดตามพฤติกรรมของลูกจ้าง โดยใช้ระบบกล้องวิดีโอวงจรปิด เป็นต้น

2. จริยธรรมกับกฎระเบียบเกี่ยวข้องกันอย่างไร จงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
                -  การควบคุมให้คนมีจริยธรรมที่ดีนั้นอาจใช้ข้อบังคับ กฎ หรือระเบียบของสังคมมาเป็นส่วนสนับสนุน เพื่อชี้ชัดลงไปว่า ถูกหรือผิด เช่น สถาบันการศึกษาออกกฎระเบียบและลงโทษนักศึกษาที่ลอกข้อสอบ โดยปรับให้ตกทุกรายวิชาที่ลงทะเบียนในภาคการศึกษานั้นๆ

3. จงยกตัวอย่างของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง พร้อมทั้งหาวิธีป้องกันและแก้ไข โดยอธิบายประกอบ
                -  ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus)
                แนวทางการป้องกันและแก้ปัญหา คือ ควรที่จะติดตามรับข่าวสารใหม่ๆ เกี่ยวกับโปรแกรมประสงค์ร้ายอยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้ทราบถึงรูปแบบการแพร่กระจายของโปรแกรม วิธีการกำจัดและลบข้อมูล รวมถึงหลักการแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ ซึ่งมีหน่วยงานที่ช่วยเหลือและให้ข้อมูลได้เป็นอย่างดี

4. การหลอกลวงเหยื่อแบบ Phishing มีลักษณะอย่างไร จงอธิบาย
                -  จะอาศัยกลลวงโดยใช้ URL (uniform resource locator หรือตำแหน่งที่ตั้งของไฟล์บนอินเตอร์เน็ต) ปลอม เพื่อหลอกล่อเหยื่อให้ตายใจเสมือนกับว่าเป็นของผู้ให้บริการตัวจริง แต่ที่จริงแล้วกลับเป็น URL ของผู้ไม่ประสงค์ดีที่ทำขึ้นมาเลียนแบบ (จะเหมือนกับเจ้าของเว็บไซต์ตัวจริงแทบทุกประการ)

5. BSA จัดตั้งขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ใด และเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้านใดมากที่สุด จงอธิบาย
                -  เพื่อควบคุมและดูแลเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ รวมถึงการทำความเข้าใจกับผู้บริโภคให้ตระหนักถึงการใช้โปรแกรมที่ถูกต้อง  และเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้านการขโมยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

6. ข้อปฏิบัติที่ควรต้องทำในการป้องกันไวรัส มีอะไรบ้าง จงยกตัวอย่างมาอย่างน้อย 5 ประการ
                1. การติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส (Antivirus Program)
                2. การใช้ระบบไฟร์วอลล์ (Firewall System)
                3. การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption)
                4. การสำรองข้อมูล (Back up)
                5. ไม่ควรแชร์หรือแบ่งปันไฟล์ในเครื่องให้กับผู้อื่นเกินความจำเป็น

7. การสำรองข้อมูลคืออะไร สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่าง
                -  คือ การทำซ้ำข้อมูล ไฟล์ หรือโปรแกรมที่เก็บอยู่ในพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ซึ่งสามารถเลือกใช้โปรแกรมยูทิลิตี้บางประเภทเพื่อเก็บลงสื่อบันทึกข้อมูลสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์, CD หรือ DVD ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลมีความสำคัญหรือถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงไร

8. การป้องกันการทำซ้ำหรือละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ควรทำอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
                -  วิธีป้องกันการทำซ้ำ อาจบันทึกข้อมูลซีดีซอฟท์แวร์แบบพิเศษ ซึ่งอาจใช้การเข้ารหัสข้อมูล
บางอย่างเพื่อไม่ให้สามารถทำซ้ำได้โดยง่าย มีการใช้ serial number ซึ่งเป็นอักขระที่ต้องป้อน
ก่อนการใช้งาน รวมถึงกำหนดสิทธิต่าง ๆ เช่น กำหนดว่าจะนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ได้กี่เครื่อง
หากเกินกว่านั้นจะไม่สามารถใช้ได้ เป็นต้น

9. แฮกเกอร์และแครกเกอร์ มีความแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
แฮกเกอร์
แครกเกอร์
-  จะแอบลักลอบเข้าไปดูข้อมูลของผู้อื่น เพียงเพื่อทดสอบความรู้ของตนเองเท่านั้น
โดยเจตนาแล้วไม่ได้มุ่งร้ายต่อข้อมูลแต่อย่างใด
-  บางคนอาจเข้าไปหาจุดบกพร่องต่างๆของระบบเครือข่ายแล้วทำการแจ้งให้กับผู้
ดูแลระบบด้วยว่า ระบบเครือข่ายนั้นบกพร่องและควรแก้ไขข้อมูลส่วนใดบ้าง
-  จะมีเจตนาที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ซึ่งจะสร้างความเสียหายที่รุนแรงกว่า
-  อาจนำเอาข้อมูลที่พบนั้นไปแก้ไข เพื่อจงใจให้เกิดความเสียหายโดยตรง ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่ม
บุคคลที่มีความร้ายแรงมากในยุคปัจจุบัน

10. ท่านคิดว่ากรณีที่มีการนำภาพลับเฉพาะของดาราและนำไปเผยแพร่บนเว็บไซต์นั้น ผู้กระทำขาดจริยธรรมในด้านใด จงอธิบายพร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ
                -  ด้านความเป็นส่วนตัวได้ เนื่องจากผู้ที่โดนกระทำคือดารา
ถูกละเมิดสิทธิโดยตรงซึ่งผู้เสียหายอาจไม่ต้องการให้นำภาพดังกล่าวออกเผยแพร่สู่สาธารณะ
ชนได้ แต่กลับมีบุคคลบางกลุ่มนำออกมาโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการนำ
เสนอข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่แพร่กระจายข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลเสียแก่ดาราดังกล่าว
ได้ซึ่งอาจนำมาสู่การฟ้องร้องและเป็นคดีความตามมาได้นั่นเอง

ที่มา หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
            บทที่ 13  จริยธรรมและความปลอดภัย

บทที่ 12 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 12
1. ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้ในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีช่องทางใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบมาอย่างน้อย 3 ช่องทาง 
                -  ช่องทางที่พบได้ในการนำมาใช้ทางการค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พอยกตัวอย่างได้ดังนี้
·       ระบบโทรศัพท์บ้าน ตัวอย่างที่พบเห็นมากที่สุดคือ บริการหมายเลข 1900 ขององค์การโทรศัพท์ที่ผู้ให้บริการจะแจ้งเบอร์หรือหมายเลขให้กับลูกค้าที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมผ่านโทรศัพท์ได้โดยตรง
·       ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันโดยผู้ใช้สามารถเลือกทำรายการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการผ่านมือถือได้ด้วยตนเอง เช่น จองตั๋วภาพยนตร์หรือดาวน์โหลดริงโทนหรือโลโก้มือถือต่างๆ
·       ระบบอินเทอร์เน็ต เป็นช่องทางการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นได้มากโดยเจ้าของร้านหรือบริษัท ผู้ผลิตจะทำเว็บไซท์เพื่อจำหน่ายสินค้าและให้ลูกค้าเลือกซื้อบนหน้าเว็บนั้นๆได้เลยทันทีลูกค้าสามารถทำรายการซื้อขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น

2. จงบอกลักษณะโดยทั่วไปของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B2C พร้อมยกตัวอย่างประกอบอย่างน้อย 3 เว็บไซท์ 
                -  ร้านค้าหรือบริษัทจะเปิดเว็บไซท์ที่มีรูปแบบร้านค้าเสมือนจริง (virtual store-front) เพื่อให้ลูกค้า เข้ามาเลือกซื้อได้ด้วยตนเองเสมือนว่าได้เดินเข้ามายังร้านค้านั้นจริงๆ เมื่อพอใจหรือเลือกสินค้า เสร็จก็สามารถชำระเงินได้ทันที โดยมากมักเป็นสินค้าประเภทการจองที่พักโรงแรม การจองตั๋ว เครื่องบินโดยสารการซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆเป็นต้น ตัวอย่างของเว็บไซท์เหล่านี้ เช่น
·       www.kwangham.com
·       www.hammax.com,www.toesu.com
·       www.pamanthai.com

3. การประมูลสินค้าออนไลน์ จัดอยู่ในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบใด จงให้เหตุผลประกอบ
                -  แบบผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือ C2C เนื่องจากเป็นการซื้อขายสินค้าที่ผู้บริโภคด้วยกันเอง นำเอาสินค้าที่ต้องการประมูลมาเสนอหรือติดต่อเพื่อทำการค้าเองโดยตรง โดยปิดประกาศประมูลสินค้ากับเว็บไซท์ผู้ให้บริการเมื่อตกลงในรายละเอียดสินค้าและวิธีการชำระเงินก็สามารถจัด ส่งของให้กับผู้ที่ชนะประมูลได้ทันที

4.วัตถุประสงค์ของ E-Government คืออะไร แตกต่างจากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบอื่นอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างบริการที่นักศึกษารู้จักมาอย่างน้อย 2 ตัวอย่าง 
                -  รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์หรือ electronic government เป็นการบริการของภาครัฐที่นำเสนอการให้ บริการกับประชาชนผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนใช้เป็นแหล่งข้อมูลกลางสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองไม่ได้มุ่งเน้นหรือแสวงหากำ ไรเหมือน กับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบอื่นๆ ที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น
·       ระบบประตูสู่การบริการภาครัฐหรือ TGW (Thailand gateway)
·       บริการเสียภาษีของกรมสรรพากรผ่านเว็บไซท์
·       ระบบการตรวจสอบข้อมูลการเลือกตั้ง

5. Shopping cart คืออะไร จงอธิบายลักษณะการทำงานพอสังเขป
                -  โปรแกรมบนเว็บที่เขียนขึ้นเสมือนเป็นรถเข็นสินค้าจริงที่จัดไว้ให้ลูกค้าเลือกใช้งาน หากอยากได้สินค้าชิ้นใด ลูกค้าสามารถคลิกเลือกกดปุ่มเพื่อจับใส่เข้าไปในรถเข็นนั้นได้จนกว่าจะพอใจแล้วทำการยืนยันการชำระเงินเพื่อออกจากระบบได้ เหมือนกับที่ไปเลือกซื้อสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ตเมื่อเลือกและหยิบใส่รถเข็นจนพอใจแล้ว จึงค่อยมาชำระเงินตรงทางออก เป็นต้น

6. นักศึกษาคิดว่า เหตุใดจึงต้องมีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบัตรเครดิตที่ใช้จ่ายผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยและจะใช้วิธีอะไรได้บ้าง 
                -  เนื่องจากในระหว่างการทำธุรกรรมโดยใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตบนอินเทอร์เน็ตนั้น อาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีลักลอบเอาข้อมูลไปใช้ให้เกิดความเสียหายกับเจ้าของบัตรได้ โดยเฉพาะกับข้อมูล ที่สำคัญๆหากไม่มีการป้องกันที่ดีพอ อาจทำให้ลูกค้าไม่มั่นใจที่จะทำรายการซื้อขายผ่านเว็บไซท์นั้นๆได้ ผู้ขายหรือเจ้าของเว็บไซท์เอง จึงควรมีวิธีการป้องกันที่ดีพอโดยเลือกการเข้ารหัสข้อมูล ที่ได้รับความนิยมและน่าเชื่อถือ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่ามีความปลอด ภัยในระดับหนึ่ง ซึ่งข้อมูลทุกอย่างที่ทำธุรกรรมจะมีการเข้ารหัสข้อมูลก่อนที่จะส่งข้อมูลไปบนอินเทอร์เน็ต ทำให้ยากต่อการแกะหรือถอดข้อมูลมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

7. จงอธิบายลักษณะสินค้าแบบ hard goods และแบบ soft goods มาพอเข้าใจ 
                -  แบบ Hard goods จะเป็นสินค้าที่สามารถจับต้องได้ และต้องจัดส่งสินค้าโดยการใช้บริการของผู้ให้บริการขนส่งไปรษณีย์หรือพัสดุ แต่สินค้าแบบ soft goods มักเป็นสินค้าที่ไม่สามารถจับต้องได้และโดยมากมักอยู่ในรูปแบบดิจิตอลเช่น เพลง ภาพยนตร์ ซอฟท์แวร์ โลโก้หรือริงโทนมือถือ เป็นต้น

8. ท่านคิดว่าบริการหลังการขาย มีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
                -  มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ทำให้เกิดการซื้อสินค้าหรือบริการซ้ำและแนะนำบอกต่อไปอีก มักนำไปใช้กับสินค้าที่มีการใช้งานยุ่งยาก ซับซ้อนหรือไม่สามารถเข้าใจได้ทันที โดยมีผู้ชำนาญการหรือเจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ บางบริษัทอาจมีศูนย์ช่วยเหลือลูกค้ามาช่วยในการดูแลลูกค้าหลังการขายสินค้าไปแล้ว

9.จงยกตัวอย่างวิธีการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต มาอย่างน้อย 2 ตัวอย่างพร้อมอธิบายประกอบ 
                -  ตัวอย่างการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต เช่น
·       ชำระด้วยบัตรเครดิต เป็นวิธีที่นิยมกันมากที่สุดในขณะนี้ ผู้ใช้เพียงแค่ป้อนชื่อเจ้าของบัตร หมายเลขบัตรวันหมดอายุและรหัสบัตรส่วนที่อยู่ด้านหลัง ลงในแบบฟอร์มของทางร้านค้าหรือผู้ให้ บริการรับชำระเงินบนแบบฟอร์มที่เตรียมไว้ให้ แล้วทำการยืนยันการชำระเงินก็สามารถจ่ายชำระค่าสินค้าหรือบริการได้ทันที
·       ชำระด้วยเงินสดดิจิตอล เป็นวิธีการที่นำมาทดแทนการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต โดยต้องจ่ายเงินจริงสำรองไปก่อน เพื่อแลกกับมูลค่าวงเงินที่จะใช้สำหรับซื้อสินค้า เมื่อต้องการจ่ายเงินก็สามารถจ่ายเงิน ตามวงเงินที่เหลือได้พอหมดก็ค่อยไปซื้อมูลค่าวงเงินนี้ใหม่

10. สินค้าประเภทซอฟต์แวร์มีวิธีการส่งมอบได้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
                -  นิยมให้ลูกค้าทำการดาวน์โหลดได้เลย ซึ่งอาจมีการจำกัดหรือวางเงื่อนไขในการดาวน์โหลดได้เช่น จำกัดจำนวนครั้ง จำนวนวันหรือจำกัดทั้งสองรูปแบบ โดยใส่รหัสผ่านที่ได้รับจากผู้ขาย ปกติจะพยายามทำให้ขนาดไฟล์ดิจิตอลเหล่านี้มีขนาดที่เล็กลง โดยใช้โปรแกรมบีบอัดไฟล์ บางประเภทหรือปรับขนาดให้เล็กลงเมื่อเป็นไฟล์เพลงหรือไฟล์เสียง เช่น อยู่ในรูปแบบของMP3เป็นต้น นอกจากนั้นอาจให้ลูกค้าเลือกได้ว่าจะดาวน์โหลดด้วยการเชื่อมต่อด้วยความเร็วแบบใดเป็นต้น

ที่มา :  http://pargajae.blogspot.com/

บทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 11
1. จงยกตัวอย่างระบบสารสนเทศที่นักศึกษาพบเห็นในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย 5 ระบบ
·       1.1 ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
·       1.2 ระบบสารสนเทศเทคโนโลยีการเกษตร
·       1.3 ระบบสารสนเทศทางการแพทย์
·       1.4 ระบบสารสนเทศการเงินการธนาคาร
·       1.5 ระบบสารสนเทศการแสดงหุ้นของบริษัทต่างๆ

2. สื่อผสมหรือมัลติมีเดีย คืออะไร เราสามารถนำเอาสื่อผสมไปใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบายประกอบ
                -  สื่อที่ประกอบด้วยสารสนเทศที่อาจอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร ภาพกราฟิก เสียง ภาพนิ่ง รวมถึง
ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ โดยนำมาจัดไว้รวมกันเพื่อให้เกิดความน่าสนใจกับผู้ที่เรียกใช้สื่อ สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก เช่น การสร้างวิดีทัศน์เพื่อเผยแพร่ทั่วไป เป็นต้น

3. เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย
                -  การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ โดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านเครือข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสาร
                -  ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเราสามารถใช้ได้แทบจะทุกแขนง เช่น ด้านการศึกษาที่ลด
ปัญหาทางด้านเวลาและระยะทางในการเรียนได้ โดยจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามชุมชนที่อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ ฯลฯ 

4. DAISY มีประโยชน์อย่างไรบ้าง จงอธิบายพอสังเขป
                -  digital accessible information system หรือ DAISY เป็นระบบหนังสือที่มีการบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบเสียงเพื่อให้ประโยชน์สำหรับคนตาบอดสามารถอ่านหนังสือได้ โดยสามารถค้นอ่านข้อมูลในหนังสือได้อย่างรวดเร็ว หรือเลือกแบบก้าวกระโดดไปยังส่วนต่างๆของหนังสือได้ เป็นต้น

5. เครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจของในหลวงและข้อมูลอื่นๆเกี่ยวกับประเทศไทยคือเครือ
ข่ายใดหน่วยงานใดที่ดูแลรับผิดชอบเครือข่ายนี้
                -  เครือข่ายกาญจนาภิเษกหรือ KPNet จะเกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย ที่ประกอบด้วยงานหลักสองส่วนคือ เครือข่ายพระราชกรณียกิจและเครือข่ายกระจายความรู้ให้กับประชาชน โดยมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติหรือเนคเทคเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบเครือข่ายนี้

6. จงยกตัวอย่างของการประมวลผลแบบ real time มาอย่างน้อย 1 ตัวอย่างพร้อมอธิบาย
                -  การฝาก-ถอนเงินสดกับเครื่องให้บริการของธนาคารพาณิชย์ หากลูกค้าทำธุรกรรมนั้นเสร็จสิ้นยอดเงินคงเหลือต่างๆ ในบัญชีที่มีอยู่จะทำการปรับปรุงเป็นยอดปัจจุบันทันที

7. Knowledge-based Economy คือรูปแบบของสังคมแบบใด จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่าง
                -  รูปแบบของสังคมที่มุ่งเน้นให้เกิดภูมิปัญญาหรือความรู้เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ เพื่อให้
เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งที่ยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ในเวทีสากล ขณะเดียวกันก็เพื่อให้ประชาชนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเหลื่อมล้ำน้อยที่สุด

8. ประโยชน์ของ Geographic Information System มีอะไรบ้าง
                -  ช่วยให้การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถจัดการกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก ที่รวบรวมจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่แผนที่รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมืองประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา หรือการพยากรณ์อากาศ เป็นต้น

9. Telemedicine คืออะไร
                -  การแพทย์ทางไกล ที่นำเอาความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานด้านการแพทย์โดยตรง โดยใช้การส่งสัญญาณผ่านสื่อโทรคมนาคมอันทันสมัย โดยแพทย์ต้นทางและปลายทางสามารถติดต่อกันได้ด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียง รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนไข้ระหว่างหน่วยงานได้ เช่น ฟิล์มเอกซเรย์และสัญญาณเสียงจากเครื่องมือแพทย์ เช่น การเต้นของหัวใจเสมือนว่าคนไข้อยู่ในห้องเดียวกัน เป็นต้น

ที่มา :  http://pargajae.blogspot.com/

ความแตกต่างระหว่าง Internet, Intranet และ Extranet

ความแตกต่างระหว่าง Internet, Intranet และ Extranet
Internet
Intranet
Extranet
·        เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
·        อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
·        ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โพรโทคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน แต่ในการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ ๆ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ต สำหรับองค์กรหนึ่ง คือ สามารถใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
·        เวลาที่มีการเชื่อมต่ออินทราเน็ตเข้ากับอินเทอร์เน็ต มักมีการติดตั้งไฟร์วอลล์สำหรับควบคุมการผ่านเข้าออกของข้อมูล ผู้ดูแลด้านความปลอดภัยในองค์กร สามารถควบคุมและจำกัดการใช้งานอินเทอร์เน็ตบางประเภท เช่น ไม่ให้เข้าไปยังเว็บไซต์ลามก หรือตรวจสอบว่าผู้ใช้รายไหนพยายามเข้าไปเว็บดังกล่าว เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ ไฟล์วอลยังป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกจากอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร นอกเหนือไปจากเซิร์ฟเวอร์สำหรับให้บริการซึ่งผู้บริหารเครือข่ายได้กำหนดไว้
·        ระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร หรือ อินทราเน็ต (Intranet) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบอินทราเน็ตหลาย ๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้
·        ระบบเครือข่ายแบบเอกซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กร หรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่ายเอกซ์ทราเน็ต อาจถูกแบ่งเป็นประเภท ๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่วๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป

ที่มา :

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

บทที่ 10 เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 10
1. Internet Service Provider คืออะไร มีบทบาทเกี่ยวข้องอย่างไรกับอินเทอร์เน็ต
                -  ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ทำหน้าที่เสมือนเป็นประตูเปิดการเชื่อมต่อให้กับบุคคลหรือองค์กรสามารถใช้งานอินเทอร์ มีชื่อย่อว่า ISP โดยจะมีการเรียกเก็บค่าบริการทั้งแบบรายเดือนหรือแบบรายชั่วโมง
สำหรับการเชื่อมต่อดังกล่าว ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องเชื่อมต่อเครือข่ายของตนเองเข้ากับ
ISP ก่อนทุกครั้งเมื่อต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต 

2. จงสรุปความหมายของอินเทอร์เน็ต มาพอเข้าใจ
                -  อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งโลกเข้าไว้ด้วยกัน เปรียบเสมือนเครือข่ายของเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงทั่วถึงกันหมด นิยมใช้สำหรับการค้นหาและเผยแพร่ข้อมูลที่ต้องการ
ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

3. เว็บเพจ และ เว็บไซท์ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
                -  เว็บเพจ คือหน้าเอกสารที่นำเสนอบนเว็บ มักเขียนด้วยภาษาที่เขียนบนเว็บโดยเฉพาะที่เรียกว่า
HTML ซึ่งอาจจะเขียนขึ้นด้วยเครื่องมือช่วยเว็บบางตัวหรือถูกแปลงและให้แสดงผลด้วยภาษาคอมพิวเตอร์บนเว็บบางชนิด โปรแกรมที่ช่วยเขียนได้เช่น Dreamweaver,Frontpage,Golive
                -  เว็บไซท์ คือ แหล่งรวบรวมเอกสารเว็บเพจทั้งหลายให้รวมอยู่ในแหล่งเดียวกัน เพื่อให้ผู้ใช้งาน
สามารถเรียกค้นข้อมูลได้ อาจกล่าวได้ว่าเอกสารเว็บเพจหลายๆหน้าที่เก็บไว้รวมกันไว้ที่เดียวกัน

4. จงยกตัวอย่างของบริการบนอินเทอร์เน็ตที่นักศึกษาใช้มาอย่างน้อย 2 บริการ
                -  บริการ Chat เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยสามารถพูดคุยกันสดๆ ระหว่างคนรู้จักในหมู่เพื่อนฝูงหรือคนที่ไม่เคยรู้จักรกันมากก่อน โดยมีเพียงที่อยู่อีเมลก็สามารถติดต่อกันได้แล้ว สามารถรับ-ส่งไฟล์ต่างๆได้อีกด้วย โปรแกรมที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันก็คือโปรแกรม MSN บริการโหลดเพลงผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถหาเพลงที่เราอยากฟัง ฟังได้อย่างง่ายดาย แค่เพียงเข้าเว็บบอร์ดหรือกระทู้ที่มีการแชร์ไฟล์เพลงไว้แล้ว ก็สามารถคลิ๊กดาวน์โหลดมาฟังได้ในทันที

5. หากต้องการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ควรทำอย่างไรบ้าง จงอธิบายพอเข้าใจ
                - ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีอุปกรณ์เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตเสียก่อน ที่นิยมกันเป็นอย่างมากคือ ผ่านอุปกรณ์ Modem ซึ่งมีอยู่หลายแบบ เช่น แบบธรรมดา แบบADSL หรือแบบไร้สายโดยต้องไปขอสมัครเป็นสมัครเป็นสมาชิกหรือเลือกซื้อบริการจาก ISP เสียก่อน ซึ่งอาจคิดราคาค่าบริการที่แตกต่างกันออกไป จากนั้นทำการเชื่อมต่อเข้าไปยัง ISP ปลายทางเพื่อขอให้เปิดการเชื่อมต่อจึงจะสามารถใช้งานได้

6. Modem คืออะไร
                -  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากดิจิตอลในเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางให้กลายเป็นสัญญาณ
อนาล็อก(Modulation) เพื่อวิ่งผ่านสื่อส่งข้อมูล เช่น สายโทรศัพท์ จากนั้นจะทำการแปลงสัญญาณกลับให้เป็นสัญญาณดิจิตอลแบบเดิม(demodulation)เมื่อข้อมูลถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง

7. เหตุใดจึงต้องนำเอาระบบ DNSมาใช้เพื่ออ้างอิงถึงชื่อเครื่องของคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเครือ
ข่ายอินเทอร์เน็ต
                -  การอ้างอิงถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตอาจใช้หมายเลข IP addres เพื่ออ้างอิงได้แต่
การเรียกใช้อาจทำให้ยุ่งยากเนื่องจากการจดจำหมายเลขดังกล่าวอาจไม่คุ้นหรือยากกว่าชื่อที-
สามารถพิมพ์หรือระบุเป็นอักษรได้ตรงๆ Domain Name System จึงได้ถูกนำเอามาใช้สนับสนุนให้เกิดการทำงานดังกล่าว โดยจะเป็นการแปลงชื่อโดเมนที่ผู้ใช้ฟ้อนเข้ามา ให้เป็นหมายเลข IP addres ของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเพื่อดึงข้อมูลมาแสดงผลนั้นเอง การแปลงข้อมูลจะกระทำโดยเครื่อง DNS Server โดยตรง

8. โปรแกรมที่สามารถเปิดเรียกดูเอกสารบนเว็บได้ เราเรียกว่าโปรแกรมอะไร ให้นักศึกษา
ยกตัวอย่างมาอย่างน้อย 4 โปรแกรม
                -  โปรแกรมเว็บราวเซอร์ ซึ่งสามารถเรียกดูเอกสารบนเว็บไซร์ได้ ทั้งที่อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร ภาพนิ่ง เสียง วิดีโอหรืออื่นๆ ผู้ใช้งานเพี่ยงแค่พิมพ์หรือป้อนข้อมูลโดยระบุชื่อเว็บไซร์หรือ URL ที่ถูกต้อง โปรแกรมดังกล่าวก็จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่นั้นมาแสดงผลให้เห็นบนจอภาพได้ ตัวอย่างโปรแกรมที่รู้จักกันดี เช่น Internet Explorer , Nescape Communication , Opera และ Plawan เป็นต้น

ที่มา : http://pargajae.blogspot.com/

บทที่ 9 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 9
1. นักศึกษาคิดว่าเหตุใดจึงต้องนำเอาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน
                -  เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น การนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาเชื่อมต่อกันเป็นเครือ ข่ายจึงทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันทำได้ง่ายมากขึ้น ผู้ใช้งานในระบบเครือข่ายสามารถ ติดต่อถึงกันได้ทันที ลดข้อจำกัดเรื่องของเวลาและสถานที่ลงไปได้ 

2. ระบบเครือข่ายมีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
                -  ข้อดีคือ สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกันได้เช่น เครื่องพิมพ์หรือพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ นอกจากนั้นไฟล์ข้อมูลที่จำเป็นก็สามารถเรียกใช้งานได้จากหลายๆ เครื่องหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันก็ทำได้โดยง่าย
                -  ข้อเสียของระบบเครือข่ายอาจเกิดปัญหาได้เช่นกัน เช่น เรียกใช้ข้อมูลไดช้าเพราะ ข้อจำกัดของสายของเครือข่ายที่ทำได้ช้ากว่าสายต่อภายในเครื่อง และยากต่อการควบคุมดูแล เพราะมีผู้ใช้งานหลายคนร่วมกัน ข้อมูลอาจไม่สามารถใช้งานได้ทันที หากผู้ใดผู้หนึ่งเรียกใช้ข้อมูล อยู่เป็นต้น

3. สายเคเบิลที่ได้รับความนิยมอย่างแพรหลายมากที่สุดคือสายชนิดใด จงบอกถึงลักษณะโดยทั่วไปของสายดังกล่าว
                -  สายแบบ UTP หรือแบบไม่มีฉนวนหุ้ม ได้รับความนิยมมากที่สุดเพราะมีราคาถูก และติดตั้งได้ง่าย เป็นสายขนาดเล็กคล้ายสายโทรศัพท์มี 8 เส้น ตีเกลียวกันเป็นคู่ๆ เพื่อลดสัญญาณรบกวน การเดิน- สายต้องจากเครื่องเข้าหาอุปกรณ์รวมสายหรือ HUB เท่านั้น

4. จงอธิบายวิธีการทำงานแบบ CSMA/CD ที่ใช้ในระบบเครือข่าย มาพอเข้าใจ
                -  วิธีการนี้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะคอย "ฟัง" ว่าสายว่างหรือไม่ ถ้าพบว่าสายว่างก็จะเริ่มส่งสัญ-ญาณออกมาซึ่งถ้าสายว่างจริงข้อมูลก็จะส่งไปถึงผู้รับได้เลย แต่การเริ่มส่งสัญญาณนี้อาจเกิดขึ้น จากหลาย ๆ สถานีพร้อมกันได้ เพราะต่างคนต่าง "ฟัง" และเข้าใจว่าสายว่างพร้อมกันผลก็คือสัญ-ญาณที่จะได้จะชนกันในสาย ทำให้ข้อมูลใช้ไม่ได้ ดังนั้นเครื่องแต่ละเครื่องจึงต้องสามารถตรวจจับการชนกันของข้อมูลได้ด้วย เมื่อเครื่องที่ส่งข้อมูลออกมาชนกัน ก็ให้หยุดส่งและรอโดยนับถอยหลัง ตามเวลาที่สุ่มขึ้นมาซึ่งจะแตกต่างกันระหว่างแต่ละเครื่อง แล้วค่อยส่งข้อมูลออกมาใหม่

5. จงสรุปความหมายของ Server และ Client มาพอเข้าใจ
·       Server
                คือเครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่ให้บริการข้อมูลสำหรับเครื่องอื่น ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายมักมีหน้าที่และชื่อที่เรียกแตกต่างกันแล้วแต่การให้บริการ เช่น Mail server,File server,Web server Pint server,Database server เป็นต้น
·       Client
                คือเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในระบบ มีหน้าที่ร้องขอหรือเรียกใช้บริการจากเครื่องแม่ข่ายเมื่อทำงานหรือขอข้อมูลบางอย่างนั่นเอง

6. HUB คืออะไร เอามาใช้ประโยชน์ได้อย่างไรกับระบบเครือข่าย
                -  ตัวรวมสายซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากในการต่อ LAN โดยสามารถโยบย้ายสาย สลับเครื่องหรือ เพิ่มจำนานเครื่องได้ เนื่องจากสายทั่งหมดจากทุกเครื่องจะลากมารวมอยู่ที่เดียวกันหมด โดยเรา อาจทำเป็นตู้หรือห้องเพื่อไว้เก็บสายด้วยก็ได้ อาจมีจำนวนพอร์ตเพื่อใช้สำหรับต่อสายต่างกันได้ในแต่ละตัวเช่น 5,8,10,16,24พอร์ตหรือมากกว่านั้นเป็นต้น

7. จงยกตัวอย่างมาตรฐานของ Ethernet ความเร็วสูงพร้อมทั้งอธิบายมาพอเข้าใจ
                -  มาตรฐานของ Ethernet ความเร็วสูง มีดังต่อไปนี้
·       1000Base-T
                                เป็นระบบที่พัฒนาต่อจาก Ethernet โดยใช้สายที่ดีขึ้นกว่าเดิมคือสาย UTP แบบ Category5
หรือดีกว่า การต่อนั้นใช้ HUB ที่ทำมาให้รองรับความเร็ว 100 Mbps ด้วยเท่านั้น
·       Gigabit Ethernet 
                                หรือเรียกกันเป็น 1000 Base-T (สาย UTP) หรือ 1000 Base-F (สาย Fiberoptic) สามารถ
ส่งข้อมูลได้ในระดับความเร็ว 1000 Mbps หรือ 1 Gbps เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความเร็วสูงมาก เช่น งานกราฟฟิก หรือใช้เชื่อมต่อตรงช่วงที่เข้าเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพื่อสามารถรองรับงานจากเครื่องอื่นได้มากพร้อมกัน
·       10 Gigabit Ethernet
                เป็นเทคโนโลยีที่สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบอื่น ๆ คือทำได้ถึง 10000 Mbps หรือ 10 Gbps นิยมใช้สำหรับเชื่อมต่อกับหน่วยงานขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันระหว่างเมือง หรือ WAN เป็นต้น

8. จงบอกลักษณะโดยทั่วไปของสายโคแอกเชี่ยล
                -  สายเส้นเดี่ยวแบบที่มีเปลือกเป็นสายโลหะถัก (Shield) เพื่อป้องกันคลื่นรบกวน โดยมักใช้กับเครือข่ายแบบ Ethernet ดั้งเดิมซึ่งสามารถใช้ต่อเชื่อมระหว่างแต่ละเครื่องโดยตรงในลักษณะที่ไม่ต้องมีอุปกรณ์รวมสายเข้ามาช่วย ปัจจุบันเริ่มใช้กันน้อยลงเพราะถูกทดแทนด้วยสาสยแบบอื่นที่มีราคาถูกและทำความเร็วได้ดีกว่า

9. จงบอกถึงหน้าที่หลักของอุปกรณ์ Route
                -  Router จะทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือ node หนึ่งใน LAN ที่รับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลายทางที่ต้องการ หน้าที่หลักของ Router คือหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งต่อข้อมูลต่อไปยังเครือข่ายอื่น ซึ่งอาจใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ โดยมีการแปลงหรือจัดรูปแบบข้อมูลตามแบบ

ที่มา : http://pargajae.blogspot.com/